ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก NUNG..NING ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดการนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้

ผลงานภาพเหมือนจริง ,ประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง ,การ์ตูนโคมิก

รายงานเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้

  หลักธรรม หลักคำสอน คติเตือนใจคำคมโดยท่าน ว.วชิรเมธี
1. คนธรรมดาทำบุญก็อยากได้บุญ คนมีปัญญาทำบุญหวังจะเกิดในภพใหม่ที่ดีกว่าเดิม แต่ชาวพุทธแท้ทำบุญเพื่อการปล่อยวางกิเลสอย่างสิ้นเชิง
2. สิ่งที่ตาเห็นอย่าเพิ่งสรุปว่ามี สิ่งที่คนยอมรับว่าดีอย่าเพิ่งบอกว่าเห็นด้วย
3. ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี
4. นักปราชญ์ตะวันตกกล่าวว่า อำนาจทำให้คนเสีย ยิ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จยิ่งเสียคนแบบเบ็ดเสร็จ
5. ดาบที่ดีต้องมีฝัก ความสามารถที่ดีต้องมีจริยธรรม
6. พ่อแม่ที่ดีต้องมีพรหมวิหาร 4 หน้า หน้า 1 เมตตา หน้า 2 คือ กรุณา หน้า 3 คือ มุทิตา หน้า 4 คือ อุเบกขา
7. ยามปกติเลี้ยงลูกด้วยเมตตา ยามมีปัญหาคอยช่วยเหลือด้วยกรุณา ยามลูกทำดีคอยส่งเสริมด้วยมุทิตา ยามลูกทำผิดปล่อยให้รับกรรมด้วยตัวเอง คือ อุเบกขา
8. รอยเท้าแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์ไม่ใช่รอยเท้าของมนุษย์ แต่เป็นรอยเท้าแห่งจินตนาการ
9. การแก้กรรมคือการแก้ที่ความหลงผิด การแก้กรรมคือการเลิกทำความชั่ว ดังนั้นการแก้กรรมจึงไม่ใช่สำเร็จที่การสะเดาะเคราะห์หรือทำพิธีจากเกจิ
10. คนที่รู้เรื่องกรรมดีที่สุดคือตัวเราเอง คนที่แก้กรรมได้ดี่ที่สุดคือตัวของเรา การแก้กรรมต้องทำด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่ด้วยพิธีกรรมแปลกๆ
11. คนขุดบ่อน้ำก็ลงต่ำอยู่ในดิน คนก่อกำแพงก็ขึ้นสูงตามกำแพงที่ก่อ ฉันนี้ฉันใดคนทั้งหลายก้เป็นเช่นนั้น จะสูงจะต่ำขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
12. คนฉลาดชอบแกล้งโง่ คนโง่ชอบเสแสร้งว่าฉลาด ส่วนนักปราชญ์เรียนรู้ที่จะฉลาดและเรียนรู้ที่จะโง่
13. กฎแห่งกรรมไม่ต้องืวีซ่า กฎแห่งกรรมไม่ยกเว้นหน้าอินทร์หน้าพรหม กฎแห่งกรรมไม่มีวันหยุด กฎแห่งกรรมเที่ยงธรรมตลอดกาล
14. บิล เกตต์ เรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้
15. อย่ายึดติดกับความหลัง อย่าฟังเสียงปาปมิตร (มิตรชั่ว) อย่ามัวคิดริษยา อย่าเสียเวลากับคนเลวทราม
16. คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิมนุษยชน แต่คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์
17. ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน ปัญญาเป็นยอดแห่งสิริมงคลความถ่อมตนเป็นยอดแห่งเสน่ห์
18. รถทุกคันล้วนมีเบรก รถทุกคันล้วนมีท่อไอเสีย คนทุกคนต้องมีเบรกคือสติ ต้องมีท่อไอเสียคือการปล่อยวาง
19. ความทุกข์ไม่เคยยึดติดเรา มีแต่เราต่างหากที่ยึดติดความทุกข์ ความสุขไม่เคยไปจากใจเรา มีแต่เราต่างหากที่ไม่เคยถนอมมันไว้ในใจของเรา
20. ยศ ทรัพย์ อำนาจเป็นเพียงมรรควิธีที่ทำให้ชีวิตนี้มีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเป้าหมายในการเกิดเป็นมนุ๋ย์
21. ทำผิดแล้วรู้สึกผิดต่อไปจะเป็นคนดี ทำผิดแล้วรู้สึกว่าเป็นความดีกาลกิณีจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
22. ที่สุดของความรักคือรักโดยไม่ครอบครอง ที่สุดของการให้คือให้โดยไม่หวังผล ที่สุดของทานคืออภัยทาน ที่สุดของคนคือการเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข
23. ความรักไม่เคยทำให้ใครทุกข์ การไม่รู้จักธรรมชาติของความรักต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมชาติของความรักคือเกิดขึ้นในเบื้องต้น ดำรงอยู่ในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด
24. โลกนี้มีผี 6 ตัวที่น่ากลัวกว่าผีไหนๆ 1 ผีสุรา 2ผีเที่ยวกลางคืน 3. ผีมหรสพ (ติดใจในความบันเทิงจนเกินพอดี) 4 ผีการพนัน 5 ผีคบคนชั่วเป็นมิตร (คนชั่วอยู่ไหนชอบเถลไถลไปสนิทสนม) 6 ผีขี้เกียจ ผี 6 ตัวนี้ต้องปราบด้วยปฏิบัติธรรม

หลักธรรม นำชีวิตให้เรามีสุข

การมีหลักธรรมนำชีวิต ย่อมทำให้เราถึงเป้าหมายได้เร็ว

คุณธรรมนำความรู้ ศีลธรรมคืออะไร 

     ศีลธรรมคืออะไร? คำว่า สี-ละ หรือศีลนี้ ตัวหนังสือแท้ ๆ ก็ แปลว่า ปรกติ อะไรที่คงอยู่ตามปรกติ ก็เรียกว่า สี-ละ หรือทำอยู่เป็นปรกติ ไม่ผิดแปลกออกไป นี้ก็เรียกว่า สี-ละ  ถ้าผิดปรกติก็เรียกว่า ไม่ใช่ สี-ละ ที่เอามาใช้เป็นชื่อของการปฏิบัติที่เรียกว่า “ศีล” นั้น ก็คือการทำให้ปรกตินั่นเอง การฆ่ากันไม่ใช่ปรกติ ต่อเมื่อไม่ฆ่ากันจึงเรียกว่าปรกติทีนี้ก็มาถึง ความหมายของคำว่า “ ธรรม” คำว่าธรรม นี้มีความหมายหลายอย่าง ความหมายทั่วไปก็หมายความว่า “ทรงตัวอยู่ คำว่าธรรม นี้ก็แปลว่า ทรงตัวอยู่ ฉะนั้น “ศีลธรรม” ก็แปลว่า การทรงตัวอยู่อย่างปรกติ มันก็เท่านั้นเอง
   ดังนั้นการเกิดเรื่องวุ่นวายมีอยู่ 2 อย่าง เท่านั้น คืออย่าไปหลงรักอย่างหนึ่ง อย่าไปหลงเกลียดอย่าหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องหัวเราะ และร้องให้ ถ้าใครมองเห็นว่าหัวเราะมันก็กระหืดกระหอบเหมือนกัน สู้อยู่เฉย ๆ ดีกว่า อย่าต้องหัวเราะ อย่าต้องร้องให้ นี่แหละดี มันเป็นความเกษม อย่างสูงสุด จากหนังสือ100 ปี พุทธทาสภิกขุ
    เก็บมาฝากจากครูหนิงค่ะ “ อยากให้ทุกคนมีศีล ”
    เมื่อมีศีลธรรม ความสุขที่แท้จะเกิดขึ้นะครับพี่น้องดินแดนปัญญาชน

คุณธรรม จริยธรรม ในชีวิตประจำวัน 

          เพื่อส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้สังคมมีองค์ความรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม เกี่ยวกับห้องบริการนี้ admin. จะขอนำเสนอบทความ ความเห็น เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
          ในชั้นนี้ขออธิบายความหมายของ คุณธรรม จริยธรรม โดยสังเขปดังนี้  
  • คุณธรรม (Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
    • คุณธรรมบุคคล คือการพิจารณา และ จำแนกระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ตามเจตนา แรงจูงใจ หรือการกระทำ 
    • คุณธรรม คือ นามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของมนุษย์ที่ตระหนักถึงความผิดชอบชั่วดี  
  • จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิดหากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว 
                ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
                “จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
                คำว่า "ธรรม" พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ
1. ธรรมชาติ 2. กฎของธรรมชาติ 3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ 4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
                คำว่า "ธรรม" พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ
                ที่นำเอาความหมายของคำว่า "ธรรม" ที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้ก็เพื่อความเข้าใจคำว่า ธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆเท่านั้น ธรรม หรือ สัจธรรม เป็นแม่บท เป็นฐานของทุกอย่าง ต่อจาก สัจธรรม ก็คือสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรม อันได้แก่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความดีงาม ซึ่งเป็นความจริงที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ความจริงของมนุษย์ต้องสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ จึงจะเกิดผลสำเร็จได้ด้วยดี
                จากนั้นจึงจะมาถึง "วัฒนธรรม" ซึ่งเป็นรูปแบบหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นจริงตามที่มนุษย์ต้องการ  
  • จริยธรรม คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์
  • วัฒนธรรม คือรูปแบบการปฏิบัติตามจริยธรรมที่ปรากฏในวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์ (วัฒนธรรม ไทย สู่ยุคเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์การศาสนา พ.ศ. 2538 หน้า 10)
 

1 ความคิดเห็น:

Comment กันได้เลยนะ


สุดสวย